วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 8 มกราคม 2556

- ส่งดอกไม้ 3 ดอก ที่สั่งเมื่อคาบที่ผ่านมา





มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดทางคณิตศาสตร์

มาตราฐานที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ >การเข้าใจถึงความหลากหลายของจำนวนและนำจำนวนไปใช้ในชีวิตจริง
-จำนวน   การนับ ค่า ตัวเลข
-การดำเนินการ วิธีการดำเนินการหรือขั้นตอนต่างๆ
มาตราฐานที่ 2 การวัด  ค่า ปริมาณ น้ำหนัก พื้นที่

มาตราฐานที่ 3 เรขาคณิต
-รูปทรงเรขาคณิต - ทรงกรวย ทรงกระบอก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
-ตำแหน่ง - ซ้าย ขวา หน้า หลัง
-ทิศทาง - เหนือ ใต้ ออก ตก
-ระยะทาง - ตัวเลข หน่วย เครื่องมือ

มาตราฐานที่ 4 พีชคณิต-เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
-แบบรูป  การเขียนตัวอักษร การเขียนตัวเลข การประกอบรถของเล่น
-ความสัมพันธ์  ตารางสัมพันธ์ 2 แกน เป็นการเตรียมให้เด็กเรียนรู้เรื่องกราฟ

มาตราฐานที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น - รวบรวมข้อมูลและนำเสนอ
-รวบรวมข้อมูล  สถิติ

มาตราฐานที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ - นำทุกอย่างมาประยุกต์ใช้
บันทึการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันอังคารที่ 1มกราคม 2556

หยุดวันขึ้นปีใหม่

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม 2555

สอบกลางภาค


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2555

*วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องด้วยอาจารย์ติดธุระ

    อาจารย์มอบหมายงานให้ทำให้เสร็จ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2555

ส่งงานเขียนแผน

-อาจารย์สอนเรื่อง

กล่องที่นำมาคนละ 1 กล่อง

 กล่องทำให้เกิดคณิตศาสตร์ได้ดังนี้
-รูปทรง
-ขนาด
-ตัวเลข
-ประเภท
-จับคู่
-การวัด
-การนับ
-พื้นที่
-จำนวน-เปรียบเทียบ
-เรียงลำดับ
-ทำตามแบบ
-เศษส่วน
-การอนุรักษ์

     อาจารย์ให้จับกลุ่ม 10 คนทำกิจกรรมให้นำกล่องที่เตรียมมาของแต่ละคนมาต่อกันโดยไม่ได้มีการวางแผน แล้วอาจารย์ให้ทำใหม่เป็นให้ทุกคนวางแผนว่าจะทำอะไรกลุ่มของดิฉันทำเป็นรถถัง
ให้ทุกกลุ่มนำชิ้นงานมาจัดให้เป็นเรื่องเดียวกัน



งานที่ได้รับมอบหมาย

ให้หางานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ให้ตัดแกนกระดาษทิชชูทำดอกไม้





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม 2555

- ส่งเรียงความของกลุ่มตัวเอง- ส่งตัวแทนของแต่ละกลุ่ม  ออกมาเสนอ


- อาจารยให้แต่ละกลุ่ม แบ่งกันสอนคนละ 1 วัน

เช่น 
วันจันทร์           สอนเรื่อง   ชนิดของไข่ 
วันอังคาร         สอนเเรื่อง  ลักษณะ,พื้นผิว,ส่วนประกอบ เช่น ไข่ขาว, ไข่แดง
วันพุธ               สอนเรื่อง   ประโยชน์ในตัวของมันเองของไข่  
วันพฤหัสบดี     สอนเรื่อง   ประโยชน์ปของไข่  
วันศุกร์             สอนเรื่อง   ข้อควรระวัง  การดูแลรักษาไข่  

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2555

- นำเสนองานของแต่ละกลุ่ม





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน 2555

   เพลง โปเล่ โปลา
โปเล่ โปเล่ โปลา โปเล โปเล โปลา
เด็กน้อยยื่นสองแขนมา มือซ้ายขาว ทำลูกคลื่นทะเล
ปลาวาฬ พ่นน้ำเป็นฝอย ปลาเล็ก ปลาน้อย ว่ายตาม
ปลาวาฬ นับ 1 2 3 ใครว่ายตาม ปลาวาฬจับตัว 

อาจารย์สอนเรื่อง

การเอาคณิตศาสตร์มาใช้ตรงไหนที่จะเป็นเครื่องมือในการสอน
- การนับปากเปล่า
 - ทิศทางซ้าย-ขวา
- ตำแหน่ง
- จัดทำหน่วย

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษาควรประกอบด้วย(นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19)ดังต่อไปนี้

1.การนับ(Counting) การนับตามลำดับตั้งแต่ 1-10 หรือมากกว่านั้น
2.ตัวเลข(Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
3.การจับคู่(Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆเช่น จับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน
4.การจัดประเภท(Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ
5.การเปรียบเทียบ(Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่าเช่น ยาวกว่า สั้นกว่า
6.การจัดลำดับ(Ordering) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดๆหนึ่งตามคำสั่งหรือตามกฏเช่น จัดบล็อก 5 แท่ง ที่มีความยาวไม่เท่ากัน
7.รูปทรงและเนื้อที่(Shape and Space) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรุปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติ ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึกตื้น กว้างและแคบ
8.การวัด(Measurement) ให้รู้จักความหมายและระยะ รู้จักการชั่ง น้ำหนักและการประมาณอย่างคร่าวๆ
9.เซต(Set) เป็นการจัดกลุ่ม
10.เศษส่วน (Fraction) 
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย(Patterning) ลวดลายและพัฒนาการการจำแนกด้วยสายตา ให้เด็กฝึกสังเกตตามแบบและต่อให้สมบรูณ์
12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ(Conservation) ช่วงวัย5ขวบ ให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง การอนุรักษ์ที่ว่าปริมาณของวัตถุจะต้องคงที่ไม่ว่าจะย้ายหรือทำ

  เยาวพา เดชะคุปต์(2542:87-88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่

1.การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสสอนได้แก่ การจับคู่ 1:1 การจับคู่สิ่งของ
2.จำนวน1-10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3.ระบบจำนวน
4.ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
5.คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม
6.ลำดับ
7.การวัด ได้แก่ การวัดสิ่งเป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ
8.รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบ รูปร่าง ขนาด ระยะทาง
9.สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ การเปรียบเทียบต่างๆ